ผู้ช่วยพยาบาล ม.เวสเทิร์น
คุณสมบัติ
- อายุ 17 – 34 ปี
- จบการศึกษา ม.6 ,ปวช , ปวส , กศน. , และปริญญาตรี
- เกรดเฉลี่ย 2.00 ขึ้นไป
- ไม่มีโรคประจำตัว ปัญหาตาบอดสี
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เปิดสอน 2 วิทยาเขต
วัชรพล(กทม) และ บุรีรัมย์
ค่าแรกเข้า 10,500 บาท แบ่งเป็น
- ค่าสมัคร 4000 บาท(หลังชำระตัดโควตาเข้าศึกษาให้ทันที)
- ค่ารายงานตัว 6500 บาท(ชำระตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดตามรอบรายงานตัว)
ค่าเทอมตลอดหลักสูตร1ปี 85,000 บาท (ไม่รวมค่าแรกเข้าและค่าหอพัก)
ค่าเทอมสามารถกู้ยืมเรียนกองทุนมหาวิทยาลัยได้หรือใช้ทุนส่วนตัว
-กรณีกู้ยืมกองทุนมหาวิทยาลัย ดอกเบี้ย12%ต่อปี กู้ได้เต็มจำนวน 85,000 บาท มีการส่งดอกเบี้ยรายเดือนระหว่างเรียนดังนี้
เดือนที่ 1-12ชำระดอกเบี้ยเดือนละ 900 บาท
หลังเรียนจบผ่อนชำระเดือนละ 1900 บาท จำนวน 60 งวด
ไม่มีข้อผูกมัดหลังเรียนจบ หางานทำเองได้
-กรณีใช้ทุนส่วนตัวเรียน แบ่งชำระได้ 4 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 ชำระ 13,750 บาท
งวดที่ 2-4 ชำระ 23,750 บาท
สมัครโควตารับสิทธิ์ชุดฟรี ดังนี้
- ชุดนิสิต 2 ชุด
- ชุดฝึกปฎิบัติการ 2 ชุด
- ชุดวอร์ม 1 ชุด
- อุปกรณ์การแต่งกาย 1 ชุด
หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล1 ปี เหมาะกับผู้ที่อยากเรียนปรับวุฒิ และอยากได้หน้าที่การงานที่มั่นคง ใช้เวลาเรียนแค่ 1 ปี และมีงานรองรับทันที
หน้าที่ผู้ช่วยพยาบาล : จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยต่อจากพยาบาล จะเน้นหน้าที่หลักไปที่ดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น โดยเริ่มตั้งแต่การช่วยประสานงานในหน่วยงานโรงพยาบาลต่าง ๆ
การเดินยา การรับยา การจ่ายยา รวมถึงการเตรียมเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ผู้ป่วย เป็นต้น
ระยะเวลาเรียนผู้ช่วยพยาบาล : ในการบรรจุเพื่อทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลนั้น ใช้เวลาในการเรียนระยะสั้น เพียง 1 ปี เท่านั้น 6 เดือนแรกเรียนภาคทฤษฎี 6 เดือนสุดท้ายเรียนภาคปฎิบัติจริงตามหน่วยงานของโรงพยาบาล
หลักสูตรการเรียนเป็นผู้ช่วยพยาบาล : มีการเรียนการสอนและฝึกปฎิบัติเช่นเดียวกับพยาบาล แต่เรียนง่ายกว่า โดยหลักสูตรที่ศึกษานั้นจะเป็นพื้นฐานทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำให้การเรียนผู้ช่วยพยาบาล สามารถเรียนได้ง่ายและจบไว หลังจากนั้นก็สามารถมีงานทำหลังเรียนจบได้ทันที
เรียนผู้ช่วยพยาบาลดีไหม
จุดเด่นของหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล คือ ใช้เวลาเรียนแค่ 1 ปี จบเร็ว มีงานทำ รายได้ดี การันตีมีงานทำ 100% มีใบประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล พร้อมกับหมวก สำหรับใครที่มีเวลาน้อย เหมาะกับสายงานนี้แน่นอนค่ะ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรับนิสิต อายุตั้งแต่ 17 – 34 ปี ถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจ เพราะยังถือว่าเป็นอาชีพที่ขาดแคลนค่ะ
จบหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ทำงานอะไรได้บ้าง
เรียนผู้ช่วยพยาบาล1ปี จบไปทำงานอะไรได้บ้าง สิ่งที่ทำได้คือ งานที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือพยาบาล หน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆก็คือ
- ช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น
- ตรวจวัดสัญญาณชีพ
- ประสานงานกับทีมแพทย์และพยาบาล
- ให้การดูแลผู้ป่วยตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
- ช่วยงานหัตถการของแพทย์/ พยาบาล (แล้วแต่กรณี)
และที่สำคัญ จบไปไม่มีตกงานแน่นอน ยังสามารถไปสมัครงานได้ทั้งโรงบาลรัฐและเอกชน หรือจะไปทำงานตามคลินิกเสริมความงามก็สามารถทำได้
ทำไมต้องเรียนผู้ช่วยพยาบาล
หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลถือเป็นอีก 1 อาชีพที่น่าสนใจและเป็นอาชีพที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน เนื่องด้วยสถานการณ์ที่เกิดโรคติดต่อร้ายราย อาชีพคุณหมอ พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล จึงมีบทบาทสำคัญในสังคมตอนนี้
เรียนผู้ช่วยพยาบาลดีไหม คำตอบคือ ถ้าใครที่มีเวลาจำกัดแต่อยากได้อาชีพที่มั่นคง คำตอบคือ ดีมากค่ะ เพราะการเรียนผู้ช่วยพยาบาลใช้เวลาเรียนเพียง 1 ปี เท่านั้น และที่สำคัญ เรียนจบมีงานรองรับทันที และยังสามารถทำงานได้ทั้ง โรงพยาบาลรัฐและเอกชน หรือจะไปทำงานตามคลินิกเสริมความงามก็ยังได้
หลายคนที่อยากเปลี่ยนสายอาชีพ อาชีพผู้ช่วยพยาบาลจึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจมากๆเลยค่ะ ถ้าขยันๆหน่อยรับรองว่า เงินเดือนก็ไม่แพ้อาชีพอื่นแน่นอน
5 เหตุผลที่เลือกเรียน หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล
1.การเรียนหลักสูตรนี้ ช่วยเราในเรื่องการได้งาน
ในสถานการณ์ปัจจุบันการต้องการแรงงานทางด้านบริการสุขภาพมีอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุ และธุรกิจทางด้านการดูแลผู้สูงอายุ (Health Care) มีอัตราขยายตัวอย่างมาก ทำให้ผู้ที่สนใจเรียน หลักสูตร “ผู้ช่วยพยาบาล” สามารถเลือกสถานที่ทำงานได้กว้างขวางขึ้น ทั้งในโรงพยาบาลของเอกชนและของรัฐบาล(ทุกแผนก), ศูนย์การแพทย์, คลินิกเวชกรรม, สถานดูแลเด็กเล็ก(Nursery), สถานดูแลผู้สูงอายุ(Nursing Home), ศูนย์สุขภาพ หรือแม้แต่โรงเรียนอนุบาล ฯลฯ จึงเป็นสาเหตุหลักที่ หลักสูตรนี้เมื่อเรียนจบจะมีตำแหน่งงานที่รอรองรับอยู่มากมาย จบแล้วไม่ตกงาน
2.ความสำคัญของตำแหน่งพนักงานผู้ช่วยทางการพยาบาล
ยกตัวอย่าง “ผู้ช่วยพยาบาล” หรือ “พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้” ในโรงพยาบาลเอกชนและรัฐบาล จะรับหน้าที่ดูแลคนป่วยต่อจากพยาบาล จะเน้นย้ำหน้าที่หลักไปที่ดูแลคนไข้พื้นฐาน คัดกรอง ซักประวัติคนไข้ ช่วยติดต่อประสานงานระหว่างแผนก เตรียมเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อรองรับผู้เจ็บป่วยที่เข้ามาใช้บริการ รักษาพยาบาลเบื้องต้นพื้นฐานให้แก่คนไข้ ฯลฯ ช่วยแบ่งเบาภาระหมอและพยาบาลได้อย่างมาก
3.ตอนเรียนเข้าใจง่าย ตอนทำงานก็ไม่หนัก
การเรียนการสอนเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นพื้นฐานง่ายๆก่อน เช่น อวัยวะในร่างกาย ระบบทางเดินเลือด การวัดสัญญานชีพ เป็นต้น พร้อมกับได้ลองปฏิบัติในห้องเรียนไปด้วย ทำให้ง่ายแก่การเข้าใจ หลังจบทฤษฎีทางโรงเรียนค่อยส่งนักเรียนไปฝึกปฏิบัติกับสถานพยาบาลและคนไข้จริงๆ ซึ่งจะมีพยาบาลคอยควบคุมดูแลและสอนงานให้แบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกัน หลังจากจบหลักสูตรนักเรียนสามารถเริ่มทดลองงานเพื่อบรรจุเป็นพนักงานในสถานประกอบการที่สนใจได้เลยทันที
4.มีรายได้ที่สามารถกำหนดได้ด้วยตัวเราเอง
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจถดถอย สถานะการเงินของครอบครัวมักจะส่งผลกระทบกับการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย เพราะมักมีค่าใช้จ่ายสูง ผู้ปกครองและนักเรียนที่ประสบปัญหาหรือคนที่สนใจอยากมีงานทำเร็วๆ จึงหันมาสนใจวิชาชีพสายสุขภาพนี้มากขึ้น เพราะค่าตอบแทนในการทำงานเริ่มต้นหลักหมื่นบาท(แล้วแต่ขนาดองค์กร) แต่ที่น่าสนใจคือ รายได้พิเศษ เช่น ค่าเวร ค่าเคส ค่าเข้าเวรแทน ค่าดูแลคนไข้พิเศษในวันหยุด งานพิเศษเฉพาะทางอื่นๆ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความขยันของตัวเราเองด้วยเช่นกัน และในโรงพยาบาลพนักงานผู้ช่วยทางการพยาบาลจะได้สิทธิสวัสดิการเกือบจะเท่าพยาบาล นับว่ามีรายได้มั่นคงแล้วก็มีผลประโยชน์ที่แทบจะเทียบเท่ากัน
5.เงื่อนไขการรับเข้าเรียนไม่ยุ่งยาก
เป็นวิชาชีพที่ไม่ค่อยมีความจำกัด ให้โอกาสให้ทุกคน สามารถเข้ามาสมัครเรียนได้อย่างเสรี เพียงแค่มีใจรักในวิชาชีพ และร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีอายุที่พร้อมปฏิบัติงาน ไม่เป็นอุปสรรคในการช่วยเหลือคนไข้และผู้อื่น
หน้าที่ความรับผิดชอบของ พยาบาลและ ผู้ช่วยพยาบาล
- หน้าที่พยาบาล : จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยต่อจากหมอ และทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางกว่าผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งซับซ้อนและต้องใช้ประสบการณ์และความแม่นยำในการรักษาผู้ป่วย โดยหน้าที่จะเริ่มจากคัดกรองคนไข้ วัดความดัน ชีพจร วัดออกซิเจน เจาะเลือด ฉีดยา ทำแผลและให้น้ำเกลือแก่ผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลผู้ป่วย มาวินิจฉัยต่อว่าผู้ป่วยคนไหนต้องทำการรักษาต่อที่แผนกไหนหรือต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- หน้าที่ผู้ช่วยพยาบาล : จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยต่อจากพยาบาล จะเน้นหน้าที่หลักไปที่ดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น โดยเริ่มตั้งแต่การช่วยประสานงานในหน่วยงานโรงพยาบาลต่าง ๆ การเดินยา การรับยา การจ่ายยา รวมถึงการเตรียมเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ผู้ป่วย เป็นต้น
หากถามว่า เรียนผู้ช่วยพยาบาลดีไหม คำตอบคือ ดีแน่นอนค่ะ ถึงแม้จะใช้เวลาเรียน ผู้ช่วยพยาบาล1ปี แต่จบไปมีงานทำแน่นอนค่ะ เพราะ ทุกตำแหน่งงานมีความสำคัญที่ต้องพึ่งพากัน และเป้าหมายหลักการการดูแลผู้ป่วยทุกคนค่ะ
ลักษณะงานของผู้ช่วยพยาบาล
การเรียนผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี ถึงจะใช้ระยะเวลาเรียนแค่ 1ปี แต่ก็มีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญ และยังช่วยเหลือคุณหมอและพยาบาลได้อย่างดี ถ้าอยากรู้ว่า เรียนผู้ช่วยพยาบาลดีไหม รับรองได้เลยว่า มีอาชีพที่มั่นคงแน่นอนค่ะ
1) งานเฉพาะที่มอบหมายให้ผู้ช่วยพยาบาลกระทำเป็นงานประจำแต่อยู่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ได้แก่
1.1) การทำหัตถการที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายทันทีถ้าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน (Non-invasive)
1.1.1) การดูดเสมหะในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอาการคงที่
1.1.2) การดูแลผู้ป่วยที่มี Tracheostomy tube ที่มีอาการคงที่
1.1.3) การสวนปัสสาวะทิ้งในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินปัสสาวะ/การใส่ถุงยางอนามัยเพื่อรองรับปัสสาวะ
1.1.4) การสวนอุจจาระผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่ไม่มีพยาธิสภาพของระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง
1.1.5) การประคบร้อน ประคบเย็นในผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุที่รู้สึกตัวดีและสามารถรับความรู้สึกได้
1.2) การเก็บข้อมูล บันทึก และรายงานข้อมูลต่อไปนี้
1.2.1) สัญญาณชีพ น้าหนัก ส่วนสูง ปริมาณน้าดื่ม และปัสสาวะ การตรวจน้าตาลในปัสสาวะ และตรวจความเข้มข้นของเลือด
1.2.2) ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่ผ่านการประเมินจากพยาบาลวิชาชีพแล้ว
1.2.3) การตอบสนองต่อการพยาบาลของผู้ป่วย
1.2.4) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อม
1.2.5) ความคิดเห็นของบุคคลและครอบครัวเกี่ยวกับการดูแล
1.2.6) การสังเกตและเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องทดลอง การเก็บและตรวจหาน้าตาลในปัสสาวะ
1.2.7) การรักษาความสะอาดร่างกายบุคคลและการเช็ดตัวเพื่อลดไข้
ผู้ช่วยพยาบาล เรียนยากไหม ต้องเรียนอะไรบ้าง
หนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับเรื่องหลักสูตรและการเรียนในสายอาชีพนี้ เรียนยากไหม หลายคนที่กำลังสนใจอยากจะเรียนหลักสูตรการเป็นผู้ช่วยพยาบาล จริงๆ แล้วไม่ได้เรียนยากอย่างที่เราคิดไว้ จะมีรูปแบบการเรียนแบบไหนบ้าง คนที่เข้ามาเรียนได้นั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานอะไรมาก่อนไหมถึงจะเรียนได้ และต้องเก่งคำนวณเลขหรือพูดภาษาอังกฤษได้หรือเปล่า วันนี้แอดมินได้รวมทุกคำถามมาให้น้องๆ ได้คลายข้อสงสัยกันดังนี้ค่ะ
1. PN / NA ต้องสอบอะไรบ้าง
การสอบเข้าเพื่อเรียนเป็นผู้ช่วยพยาบาล ถือว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด และความยากง่ายขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่น้องๆ สนใจสมัครเรียน ในกรณีที่สมัครสอบผู้ช่วยพยาบาล PN วิชาที่ใช้สอบ จะเป็นวิชาพื้นฐานทั้งหมด 5 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อังกฤษ ไทยและสังคม ซึ่งยึดหลักตามคะแนน O-NET ส่วนการสมัครสอบเข้าหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล NA น้อง ๆ เพียงทำการสมัคร จากนั้นรอสอบสัมภาษณ์กับทางอาจารย์ ก็สามารถเข้ามาเรียนเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้ โดยไม่ต้องใช้คะแนนผลสอบหรือทำการสอบก่อนใดๆ ก่อน
2. ถ้าคนไม่มีพื้นฐานมาก่อน จะเรียนได้ไหม
หากน้อง ๆ ไม่มั่นใจว่าตัวเองจะเรียนไหวไหม หรือบางคนนั้นเรียนจบจากสายศิลป์มาหรือสายอื่น ๆ ก็สามารถเรียนเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้ เพราะอาชีพนี้ ไม่ได้วัดกันที่ความเก่งทางด้านการเรียนเป็นหลัก หากน้องมีใจรักในการทำงาน มีความขยัน ก็สามารถเรียนหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลได้อย่างสบาย ไม่ต้องกังวลว่าต้องมีพื้นฐานที่แน่นมาก่อน ทุกคนได้เริ่มเรียนใหม่เหมือนกันหมด เพราะวิชาที่สอนนั้นไม่ได้ยากหรือซับซ้อนอย่างที่น้อง ๆ คิด
3. จำเป็นต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษไหม
ข้อนี้ขอตอบต่อจากข้อที่ผ่านมา คือ น้อง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานที่แน่นมากมาก่อนก็ได้ ภาษาอังกฤษนั้น ส่วนใหญ่มีความจำเป็นไว้สื่อสารคำศัพท์เฉพาะ เมื่อต้องคุยกับแพทย์และพยาบาลเท่านั้น เช่นการพูดถึง ชื่อเครื่องมือทางการแพทย์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเก่งภาษามาก น้อง ๆ เอง ก็สามารถเรียนเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้ หากน้อง ๆ มีใจที่มุ่งมั่น ขยันในการเรียน
4. การสมัครเรียนต้องใช้ GAT PAT O-NET ไหม
เรียนผู้ช่วยพยาบาล ไม่จำเป็นต้องใช้คะแนน GAT PAT แต่สำหรับคะแนน O-NET นั้น อาจจะใช้เป็นเกณฑ์ในการสมัครสอบหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล PN เท่านั้น ส่วนผู้ช่วยพยาบาล NA ไม่จำเป็นต้องใช้คะแนนใดๆ ในการสมัคร เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนนั้นสามารถเรียนเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อกำหนดเกณฑ์จากการใช้คะแนนใด ๆ เพื่อสมัครสอบเข้าเป็นผู้ช่วยพยาบาล
5. ผู้ช่วยพยาบาล ต้องเรียนอะไรบ้าง
สำหรับรายวิชาที่เรียนในหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล NA นั้น โดยทั่วไปจะใช้เวลาเรียนทั้งหมดเพียง 6 เดือน เท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
การเรียนเชิงภาคทฤษฎี ใน 3 เดือนแรก
น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางด้านสายงานสุขภาพ ไม่ได้มีการเรียนเยอะและยากขนาดนั้น เช่น เรียนวิชาศัทพ์ทางเทคนิคทางการแพทย์ ซึ่งก็มีหลายหมวดในน้อง ๆ ได้ศึกษา ไม่ว่าจะเป็น หมวดโรค หรือ หมวดอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะในการทำงาน ผู้เรียนนั้นจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ และพยาบาล การเรียนรู้คำศัพท์ทางเทคนิคทางการแพทย์ จึงถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นในการเรียน เพราะใช้ในการสื่อสารระหว่างทำงานร่วมกัน
การเรียนภาคปฎิบัติ ทั้งหมด 3 เดือนสุดท้าย
เป็นการนำความรู้ที่น้อง ๆ ได้เรียนมานั้น นำมาปฏิบัติจริงตามหน่วยงานของโรงพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพยาบาล ช่วยดูแลผู้ป่วย เช่น ช่วยผู้ป่วยย้ายเตียง รวมถึง ช่วยประสานงานในโรงพยาบาล การฝึกภาคปฎิบัตินั้น เพื่อทำให้ผู้เรียนนั้นเกิดความพร้อมในการทำงานจริง ก่อนเรียนจบจากหลักสูตรการเป็นผู้ช่วยพยาบาล
สรุป
การเรียนผู้ช่วยพยาบาลไม่ได้ยากอย่างที่น้องๆ คิด เพียงน้องๆ นั้นมีใจในการรักในงาน และมี คุณสมบัติของผู้ช่วยพยาบาล ครบตามที่ทางสถาบันกำหนด น้องสามารถเริ่มเรียนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน ไม่ว่าน้อง ๆ จะจบระดับหลักสูตรใดมาก่อน โรงเรียนบริบาลวินวิน การบริบาล ยินดีต้อนรับน้อง ๆ ทุกคนเข้ามาเป็นครอบครัวเดียวกัน เราพร้อมที่จะสอนน้อง ๆ ไปพร้อมกัน หากน้องๆตั้งใจเรียน ขยัน ก็สามารถเรียนจบเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น ก็สามารถมีงานที่มั่นคง และมีโอกาสเติบโตในสายงานได้ในอนาคต
ผู้ช่วยพยาบาลมีแผนกอะไรบ้าง
ในแต่ละโรงพยาบาลอาจมีจำนวนแผนกที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วผู้ช่วยพยาบาลจะมีหน้าที่ทำงานในแผนกต่าง ๆ ดังนี้
– แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ต้อนรับคนไข้ จัดคิว ตรวจสัญญาณชีพเช่น อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต พาคนไข้ไปยังแผนกต่างๆ หรือพาไปรับยาและชำระค่าบริการที่แผนกการเงิน
– แผนกผู้ป่วยใน (IPD) วัดสัญญาณชีพ เช็ดตัวคนไข้ เช็กว่าคนไข้ได้รับอาหารเรียบร้อยไหม พาคนไข้ไปเอกซเรย์ ช่วยพยาบาลเตรียมอุปกรณ์ รวมถึงคอยตรวจเช็กและทำการเบิกอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในแผนก
– แผนกฉุกเฉิน (ER) วัดสัญญาณชีพ ทำแผลให้คนไข้ เตรียมอุปกรณ์ให้แพทย์ เป็นผู้ช่วย CPR ในกรณีที่คนไข้หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น พาคนไข้ส่งต่อไปยังแผนกต่างๆ ติดตามพยาบาลออกไปกับรถฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือคนไข้
– แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) ส่วนใหญ่จะรับเฉพาะผู้ช่วยพยาบาล PN มีหน้าที่วัดสัญญาณชีพตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ทุก 4 ชั่วโมง ช่วยพลิกตะแคงตัวคนไข้ เช็ดตัว ดูดเสมหะ ให้อาหารทางสายยาง คอยสังเกตความผิดปกติของคนไข้ และแจ้งพยาบาลทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
– แผนกห้องผ่าตัด (OR) ช่วยแพทย์และพยาบาลจัดเตรียมอุปกรณ์ จับคนไข้ ซับเหงื่อให้แพทย์ที่กำลังทำการผ่าตัด วัดความดัน เบิกเลือด ยา และอุปกรณ์ทำแผล เป็นต้น
– แผนกเอกซเรย์ ตรวจเช็กความเรียบร้อยของอุปกรณ์ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่จำเป็นต้องใช้ เช็กข้อมูลของคนไข้เบื้องต้น ช่วยดูแลจัดท่าคนไข้ระหว่างที่ทำการเอกซเรย์
– แผนกห้องปฏิบัติการ (LAB) เช็กความเรียบร้อยและความถูกต้องของสิ่งส่งตรวจ ช่วยเตรียมอุปกรณ์และสิ่งส่งตรวจก่อนส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ บางโรงพยาบาลอาจจะให้ออกหน่วยไปเจาะเลือดผู้ป่วยด้วย
– แผนกห้องยา จะรับเฉพาะในบางโรงพยาบาลที่ขาดแคลนบุคลากรทางด้านเภสัชกรรม ผู้ช่วยพยาบาลจะผ่านการอบรมให้ทำหน้าที่นี้ โดยมีหน้าที่นำใบสั่งยามาส่งให้แผนกห้องยา และช่วยเภสัชกรจัดยา
– แผนกกายภาพบำบัด เช่นเดียวกับแผนกห้องยา คือรับเฉพาะในบางโรงพยาบาลที่บุคลากรไม่เพียงพอ โรงพยาบาลก็จะส่งผู้ช่วยพยาบาลไปอบรมทางด้านนี้ เพื่อทำหน้าที่เป็นลูกมือของนักกายภาพบำบัด ช่วยดูแลหรือประคองคนไข้ระหว่างทำกายภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
PN กับ RN ต่างกันอย่างไร
Practical Nurse ผู้ช่วยพยาบาล (pn) ใส่ชุดสีขาว สวมหมวกติดแถบเฉียงหรือไม่สวมหมวก คือผู้ช่วยพยาบาล ส่วน Nursing Assistant ผู้ช่วยพยาบาล (na) ใส่ชุดสีเหลืองหรือใส่เครื่องแบบตามสถานพยาบาลนั้นๆ กำหนด จบหลักสูตรจะได้รับประกาศนียบัตรการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ
PN เรียนกี่ชั่วโมง
หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี ใน 1 สัปดาห์ จะเรียนทั้งหมด 21 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น เรียน 6 เดือน พร้อมกับการฝึกงานอีก 6 เดือน ส่วนหลักสูตรของแต่ละโรงเรียนนั้น เป็นหลักสูตรที่แต่ละแห่งจะเป็นฝ่ายกำหนดเอง ซึ่งบางที่อาจจะเหมือนหรือมีความแตกต่างกันไป และจะอยู่ในการความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ
เรียน pn ที่ไหนได้บ้าง
สามารถเรียนได้ตามสถาบันที่เปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล โดยมีรายชื่อสถาบันที่เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล และได้รับความเห็นชอบจากสภาการพยาบาล ดังนี้
1.สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ 29 สถาบัน
2.สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข 27 สถาบัน
3.สถาบันการศึกษาเอกชน 22 สถาบัน
4.สังกัดกรุงเทพมหานคร 1 สถาบัน
5.สังกัดกระทรวงกลาโหม 2 สถาบัน6. สังกัดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ 1 สถาบัน
ข้อกำจัดต่างๆ
- ข้อจำกัดของอาชีพพยาบาล : หากคุณต้องการศึกษาอยากเป็นพยาบาลนั้น จะต้องจบหลักสูตรวิทย์-คณิต จากมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น ถึงจะสามารถสมัครสอบเข้าเรียนเป็นพยาบาลได้
- ข้อจำกัดของอาชีพผู้ช่วยพยาบาล : เป็นอาชีพที่ไม่ค่อยมีข้อจำกัด เปิดโอกาสให้ทุกคนนั้น สามารถเข้ามาสมัครเพื่อประกอบอาชีพได้อย่างเสรี
สรุป
เมื่อได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทั้งสองอาชีพกันไปแล้ว พบว่าแต่ละอาชีพนั้นมีความยากง่ายที่แตกต่างกันไป เพื่อที่จะไปเรียนให้จบหลักสูตร แต่สุดท้ายปลายทางหลังเรียนจบ ทั้งสองอาชีพจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ หากคุณกำลังมองหาสายอาชีพด้านสุขภาพ การประกอบอาชีพเป็นผู้ช่วยพยาบาล ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ฉลาด มีทั้งฐานเงินเดือนและสวัสดิการที่มั่นคงแก่ชีวิต
ชุดผู้ช่วยพยาบาล มีกี่สี แตกต่างกันอย่างไร
1. ชุดผู้ช่วยพยาบาลสีขาว
เป็นชุดที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยงานของโรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ผู้หญิงมีลักษณะการแต่งกาย คือ เสื้อปกคอบัว แขนสั้นและปลายแขนนั้นพับตลับขึ้นด้านบน ทำให้สะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น สามารถใส่ทั้งกางเกงหรือกระโปรงในการปฏิบัติงาน ส่วนผู้ชาย เป็นเสื้อสีขาวคอกลม แขนสั้น เสื้อติดกระดุม มีกระเป๋าด้านล่าง กางเกงขายาวสุภาพ สวมรองเท้าสีดำหุ้มส้น พร้อมป้ายชื่อ
2. ชุดผู้ช่วยพยาบาลสีเหลือง
เป็นชุดปฏิบัติงานสำหรับหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย เป็นชุดติดกันสีเหลืองทั้งชุด ตัดด้วยผ้าเนื้อหนา โดยใช้ผ้าคลุมสีขาว เก็บชายผ้าไว้ในคอเสื้อ แขนเสื้อสั้นเหนือข้อศอก สวมใส่กระโปรง ใส่รองเท้าสีดำ หุ้มส้นและปิดปลายเท้า พร้อมป้ายชื่อ
3. ชุดผู้ช่วยพยาบาลสีฟ้า
เป็นชุดผู้ช่วยพยาบาลที่ปฎิบัติหน้าที่ตามกรมอนามัยต่าง ๆ ตามเขตชุมชน เป็นเสื้อสีฟ้าปกคอบัวขาว แขนสั้น และมีขอบแขนสีขาว ปลายแขนพับตลบขึ้นด้านบน ใส่กางเกงหรือกระโปรงทรงสุภาพสีฟ้า สวมรองเท้าสีดำ ไม่สวมหมวก พร้อมป้ายชื่อ
ผู้ชายสมัคร ผู้ช่วยพยาบาลได้ไหม
เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตของคนที่อยากจะเข้ามาทำงานในสายงานสุขภาพ โดยเฉพาะน้องๆ ผู้ชายที่สนใจและอยากที่จะประกอบอาชีพในสายงานนี้ ผู้ชายนั้นก็สามารถทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้เหมือนกัน ไม่ใช่แค่ผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งลักษณะในการทำงาน รูปแบบการเรียน จะมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ได้รวบรวมคำตอบไว้ให้น้องๆ ทุกคน ที่สงสัยดังนี้
ผู้ช่วยพยาบาลผู้ชายแตกต่างจากผู้หญิงอย่างไร
สำหรับความแตกต่างในเรื่องของการเรียนและโอกาสในการเติบโตในสายงานสุขภาพ ของการเป็นผู้ช่วยพยาบาลนั้น แทบจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก การเรียนและการฝึกภาคปฏิบัตินั้นเรียนเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันนิดเดียว คือ ในส่วนของการรับผิดชอบหน้าที่บางส่วนที่จำเป็นต้องใช้แรงในการทำงาน เช่น การย้ายเตียงผู้ป่วย แน่นอนว่าต้องใช้แรงเป็นส่วนใหญ่
ในส่วนนี้ผู้ชายส่วนใหญ่จะได้รับผิดชอบหน้าที่ แต่หน้าที่อื่น ๆ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายนั้นก็สามารถทำได้เหมือนกัน โอกาสในการเติบโตในสายงานที่เท่ากัน และสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างผู้ช่วยพยาบาลผู้หญิงและผู้ช่วยพยาบาลผู้ชายที่เห็นได้ชัดเจน มีเพียงเครื่องแบบในการทำงานเท่านั้นที่แตกต่างกัน
10 อาชีพยอดนิยม จบผู้ช่วยพยาบาลทำงานอะไรได้บ้าง?
อาชีพผู้ช่วยพยาบาลถือว่าเป็นอาชีพยอดฮิตหนึ่ง เหมาะสำหรับสาวๆที่อยากจะทำงานในสายสุขภาพและความงาม ต้องการใบประกอบอาชีพโดยใช้เวลาเรียนสั้น เพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น เรียนจบสามารถมีงานทำ รับรายได้เลยทันที สามารถทำงานได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนคลินิกเสริมความงาม คลินิกฟันคลินิก คลินิกทั่วไป หรือร้านยา ซึ่งมีฐานเงินเดือนค่อนข้างมั่นคง ทั้งยังเป็นสายงานที่มีต้องการอีกมากในอนาคต
เรียนจบผู้ช่วยพยาบาลทำงานอะไรได้บ้าง
- ผู้ช่วยพยาบาล ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
- ผู้ช่วยคลินิกความงาม
- ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
- ผู้ดูแลเด็ก
- ผู้ช่วยนักกายภาพ นักกิจกรรมบำบัด นักโภชนาการ
- ผู้ช่วยเภสัชกรห้องยา ร้านยา
- ผู้ช่วยทันตแพทย์ ทันตกรรม ห้องฟัน
- ผู้ช่วยต้อนรับ แผนกผู้ป่วยนอก (OPD)
- ผู้ช่วยพยาบาลในคลินิกตรวจโรคทั่วไป คลินิกไตเทียม
- ผู้ช่วยแผนกต้อนรับ ประชาสัมพันธ์
ความแตกต่างระหว่าง PN, NA และ RN
อย่างที่อธิบายมาข้างต้นแล้วว่า PN (ผู้ช่วยพยาบาล) และ NA (ผู้ช่วยเหลือคนไข้) แตกต่างกันตั้งแต่ระยะเวลาเรียน ผู้ช่วยพยาบาล PN. ใช้เวลาเรียน 1 ปี แต่ NA จะเรียนแค่ 6 เดือน แต่หลังเรียนจบ หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลจะได้รับใบประกาศนียบัตรพร้อมกับหมวก และได้ทำงานทั้งโรงบาลรัฐและเอกชน รวมถึงคลีนิกเสริมความงามทั่วไป เรียนผู้ช่วยพยาบาล1ปี จบมามีงานรองรับแน่นอนค่ะ ส่วนความแตกต่าง PN NA กับ RN นั้น ขออธิบายว่า คนที่จะสมัครเข้าเรียนRNนั้นต้องมีวุฒิม.6 สายวิทย์คณิต และสายศิลป์ การเรียนRNหรือพยาบาลวิชาชีพนั้น เรียนด้วยกัน4ปี เนื้อหาที่เรียนยากกว่า ละเอียดกว่า และมีการสอบแข่งขันที่ยากกว่า
เรียนพยาบาล หรือ เรียนผู้ช่วยพยาบาล(PN)ดี?
ในสายงานด้านสุขภาพที่หลากหลายและมีความจำเป็นมากยิ่งในปัจจุบัน อาชีพทางการแพทย์และการพยาบาลเป็นที่ต้องการและเป็นที่ต้องการอย่างมาก ในบทความนี้เราจะมาสำรวจและเปรียบเทียบระหว่างเรียนเป็นพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล เพื่อเข้าใจว่าอาชีพใดเหมาะสมกับคุณมากที่สุด
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- หน้าที่พยาบาลเป็นบทบาทที่มีความสำคัญในการดูแลและรักษาผู้ป่วย พยาบาลต้องมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อน โดยรับผิดชอบในการออกแบบแผนการรักษา การให้ยาและการดูแลและควบคุมสภาวะผู้ป่วยระหว่างรักษา
- ขณะที่หน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลเน้นการสนับสนุนและปฏิบัติงานเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อาจเป็นการช่วยในการเตรียมเครื่องมือทางการแพทย์ ช่วยพยาบาลในการเตรียมผู้ป่วย และให้การดูแลพื้นฐาน
ระยะเวลาในการจบหลักสูตร
- เรียนเป็นพยาบาลจะต้องใช้ระยะเวลาเรียนที่นานกว่า ระหว่าง 4 ปีที่มหาวิทยาลัย เน้นการศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติจริงตามหอผู้ป่วย
- ขณะที่เรียนผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี เป็นการเรียนทฤษฎี 6 เดือน และฝึกปฏิบัติ 6 เดือน โดยเรียนกับอาจารย์ที่มากประสบการณ์และฝึกงานกับโรงพยาบาลชั้นนำ
ข้อจำกัด
สำหรับผู้ที่จะเรียนเพื่อที่จะเป็นพยาบาลต้องจบหลักสูตรวิทย์-คณิต หรือ ศิลป์คำนวณ แต่ผู้ที่เรียนเพื่อเป็นผู้ช่วยพยาบาลสามารถเรียนต่อจากหลักสูตรใดก็ได้
การเลือกเรียนเป็นพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลขึ้นอยู่กับความเร็วในการเรียนรู้และความต้องการในอาชีพ อาชีพพยาบาลมีความซับซ้อนและเป็นที่ต้องการการศึกษาในระดับสูง ในขณะที่อาชีพผู้ช่วยพยาบาลเน้นการปฏิบัติงานทางคลินิกและสามารถเรียนได้เร็วและเริ่มงานได้เร็วกว่า ดังนั้น ในการเลือกอาชีพในสายงานสุขภาพ คุณต้องพิจารณาความเหมาะสมและความต้องการของคุณเองอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจลงเส้นทางอาชีพที่เหมาะสมกับคุณ
เงินเดือนผู้ช่วยพยาบาลแต่ละแผนกเท่ากันหรือไม่
เงินเดือนผู้ช่วยพยาบาล ค่อนข้างใกล้เคียงกันในหลายแผนก ยกเว้นบางแผนกที่งานเยอะและเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์สูง ก็ย่อมได้เงินเดือนสูงกว่า แต่ก็แลกมากับการทำงานที่หนักขึ้นด้วยเช่นกัน ในขณะที่บางแผนกเงินเดือนอาจจะน้อย แต่งานเบา ยกตัวอย่างเงินเดือนผู้ช่วยพยาบาลของแต่ละแผนก เช่น
1. ผู้ช่วยพยาบาล OPD
ฐานเงินเดือนของผู้ช่วยพยาบาลแผนก OPD หรือแผนกผู้ป่วยนอก สำหรับโรงพยาบาลเอกชน โดยเฉลี่ยเริ่มต้นที่ประมาณ 12,000 – 14,000 บาท เมื่อรวมกับค่าเบี้ยขยัน ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าใบประกาศ และสวัสดิการอื่น ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 17,000 – 19,000 บาท
2. ผู้ช่วยพยาบาลแผนก ER
ฐานเงินเดือนของผู้ช่วยพยาบาลแผนก ER หรือแผนกฉุกเฉิน สำหรับโรงพยาบาลเอกชน โดยเฉลี่ยเริ่มต้นที่ประมาณ 12,000 – 14,000 บาท เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะได้ค่าล่วงเวลามากกว่าแผนกอื่น ๆ และมีค่าความเสี่ยงเพิ่มมาด้วย รวมทั้งหมดแล้วจะได้ 18,000 – 20,000 บาท
3. ผู้ช่วยพยาบาล IPD
ฐานเงินเดือนของผู้ช่วยพยาบาลแผนก IPD หรือแผนกผู้ป่วยใน สำหรับโรงพยาบาลเอกชน ไม่แตกต่างจากแผนก OPD หรือผู้ป่วยใน โดยเฉลี่ยจะเริ่มต้นที่ประมาณ 12,000 – 14,000 บาท เมื่อรวมกับค่าเบี้ยขยัน ค่าทำงานล่วงเวลา (OT) ค่าใบประกาศ และสวัสดิการอื่น ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 17,000 – 19,000 บาท
บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาล pn ทําอะไรบ้าง
บทบาทหน้าที่ของ pn และความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่มีดังนี้
1.ช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นและทำการตรวจวัดสัญญาณชีพ วัดความดันโลหิต วัดค่าออกซิเจนในเลือด
2.ช่วยงานหัตถการของแพทย์และพยาบาลตามที่ได้รับมอบหมาย
3.ให้การดูแลผู้ป่วย เช่น เช็ดตัว ป้อนอาหาร น้ำ และยา
4.ทำความสะอาดเตียงผู้ป่วย เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ทำความสะอาดเชื้อโรคบริเวณรอบ ๆ เตียง
5.ช่วยพยาบาลทำการใส่สายน้ำเกลือ ทำความสะอาดแผล หรือเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์
6.ประสานงานเดินเอกสารให้กับแผนกต่าง ๆ ในหน่วยงานโรงพยาบาล
7.สังเกตอาการผู้ป่วยเพื่อบันทึกและรายงานให้กับพยาบาลวิชาชีพ
8.ดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ในการรักษาพยาบาลให้พร้อมใช้งาน
9.ทำการพยาบาลขั้นพื้นฐานและช่วยแพทย์ในการตรวจคนไข้
10.หน้าที่อื่น ๆ ตามที่พยาบาลวิชาชีพมอบหมาย
ผู้ช่วยพยาบาล PN 1 ปี เรียนอะไรบ้าง
การเรียนผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี ในเทอม 1 น้อง ๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางด้าน สายงานสุขภาพ เป็นวิชาคำศัพท์ทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นในหมวดของโรค หรือ หมวดอุปกรณ์ทางการแพทย์ค่ะ เพราะว่าผู้เรียนจะต้องทำงานร่วมกับแพทย์และพยาบาลค่ะ เพราะฉะนั้นการเรียนเรื่องคำศัพท์จึงจำเป็นมากๆ เพราะต้องนำไปใช้ตอนทำงาน
เทอม 2 น้อง ๆ จะได้นำความรู้ที่น้อง ๆ ได้เรียนมา ไปฝึกปฏิบัติจริง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือโรงบาลเอกชนค่ะ น้อง ๆ จะได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้ป่วย รวมถึงช่วยประสานงานในโรงพยาบาล การฝึกปฏิบัติจริงในโรงพยาบาล จะช่วยให้น้อง ๆมีความพร้อมในการทำงานจริงค่ะ
โอกาสในงานอาชีพ
เมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร นิสิตจะได้รับใบประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล คุณจะมีคุณสมบัติในการดูแลผู้ป่วยและสร้างความมั่นคง ความมั่นใจในการยึดถือเป็นอาชีพได้ เพราะมีความจำเป็นอย่างมากในการดูแล ช่วยเหลือผู้ป่วยระยะยาว นับว่าเป็นการช่วยชีวิต การให้การบริการชุมชน และการปฏิบัติงานส่วนตัว หรืออาจจะปฏิบัติงานในสำนักงานอุตสาหกรรม ในโรงเรียนและศูนย์ดูแลเด็ก หรือตามคลินิก โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
สำหรับหน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาล มีตั้งแต่หน้าที่การปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน ในการเก็บตัวอย่างเลือด ตรวจสอบเช็คสุขภาพของผู้ป่วย ช่วยดูแลความเคลื่อนไหของผู้ป่วย การป้อนอาหาร การทำความสะอาดร่างกาย การแต่งกาย การเปลี่ยนเสื้อผ้าของผู้ป่วย และความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยทั่วๆไป รวมถึงประสานงานภายในโรงพยาบาลด้วย
แนะนำอาชีพ “ผู้ช่วยพยาบาล” หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (PN) 1 ปี
เป็นข้อมูลสำหรับบุคคลที่สนใจในอาชีพสายสุขภาพ หรืออยากจะมีความรู้ไปดูแลผู้ป่วย หรือคนใกล้ชิด
ซึ่งอาชีพนี้คนอาจไม่ค่อยเป็นที่พูดถึง หรือนิยมเสียเท่าไหร่ แต่อย่าลืมว่าเราก็เป็นบุคคลากรในสายการแพทย์ที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหมอ พยาบาล หรืออาชีพอื่นๆ
อาชีพนี้ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับด้านการบริการสุขภาพ แก่ผู้รับบริการที่มีปัญหาสุขภาพ หรือคนป่วย ซึ่งที่แน่ๆแหละครับ “ใจไม่รักอยู่ไม่ได้” จึงเหมาะกับคนที่มีความเสียสละเป็นอย่างมาก เพราะเราทำงานไม่เป็นเวลาแบบงานราชการ แถมต้องใช้ชีวิตอยู่กับผู้คนในสภาพที่อาจจะไม่ค่อยน่าดูอีก นอกจากใจต้องรักแล้วเราต้อง “อดทนและใจเย็น”
1. จบหลักสูตร 1 ปี แล้วสามารถเรียนต่อพยาบาลได้ไหม?
สามารถเรียนได้ แต่ต้องมีวุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า การเรียนหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลไม่ได้มีผลคะแนนต่อการสอบเข้าพยาบาลวิชาชีพ ถ้าน้องอยากเรียนพยาบาล พี่แนะนำให้สอบพยาบาลไปเลย
2. การเรียน และ เวลาเรียน
ส่วนใหญ่เราจะเรียนเวลาราชการ คือ จันทร์ – ศุกร์ 8.00 – 16.00 โดยประมาณ แต่บางมหาวิทยาลัยเอกชนบางที่เปิดสอนภาคเสาร์ – อาทิตย์ด้วยนะ
วิชาที่เรียน ก็เป็นวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วๆไป เช่น
กายวิภาคศาสตร์สำหรับผู้ช่วยพยาบาล
ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ช่วยพยาบาล
การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น
กฎหมายและจริยธรรมในวิชาชีพ
ซึ่งการเรียนเอาจริงๆไม่ถือว่ายากเกินความสามารถของเราครับ แต่ระยะเวลาหลักสูตรของเรา เป็นหลักสูตรแค่ 1 ปี เพราะฉะนั้นการเรียนจะค่อนข้างเข้มข้น เยอะและโหดเหมือนกัน ใครที่เรียนต้องรู้จักแบ่งเวลาให้ดีดีด้วยนะ
3. การรับสมัครเข้าเรียน…
ปกติจะรับวุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า ไม่กำหนดสาขาที่เรียน (ยกเว้นบางสถานศึกษาที่รับเฉพาะ ม.6) มีการกำหนดส่วนสูง และน้ำหนักและผ่านการตรวจสุขภาพเหมือนกับหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ และมีการกำหนดอายุนักเรียน ซึ่งอยู่ที่ 17-34 ปี แล้วแต่สถานศึกษา
4. ค่าเทอม
ตลอดหลักสูตรอยู่ที่ 85,000 บาท รวมถึงได้รับชุดด้วย
5. จบแล้วสามารถทำงานอะไรได้บ้าง…?
คำตอบคือ เรียนผู้ช่วยพยาบาล ก็ต้องทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล ข้อดีคือ “ไม่ต้องกลัวตกงานเลย” เว้นแต่เสียว่าเราจะเลือกงาน สามารถทำงานได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล และเอกชน หรือผู้ช่วยความงามตามคลินิก เป็นอาชีพที่ต้องการบุคลากรเป็นอย่างมาก
บางคนรักอิสระหน่อยก็อาจรับจ้างเฝ้าไข้ตามบ้าน หรือตามศูนย์ดูแลผู้ป่วย ซึ่งบอกได้เลยว่า รายได้เยอะมากกกก…อาจจะเยอะกว่าคนที่เรียนปริญญามาเสียอีก
หรือบางคนไม่ชอบอยู่ในโรงพยาบาล ก็อาจจะไปเป็นเจ้าหน้าที่ประจำห้องพยาบาลตามโรงเรียน หรือ โรงงานก็ได้นะครับ
6. ผู้ช่วยพยาบาลหลักสูตร 1 ปี และ 6 เดือน ต่างกันไหม…?
คำตอบคือต่างครับ หลักสูตร 1 ปี เราเรียกว่า “ผู้ช่วยพยาบาล” หรือภาษาอังกฤษคือ “Practical nurse” อักษรย่อคือ PN
ส่วนหลักสูตร 6 เดือนเป็น “พนักงานช่วยการพยาบาล” ภาษาอังกฤษคือ “Nurse Aid” อักษรย่อคือ NA
หลักสูตร 6 เดือนอาจจะไม่ได้เรียนลึกเท่ากับหลักสูตร 1 ปี การทำงานก็จะแตกต่างกัน และค่าตอบแทนก็อาจจะน้อยกว่า ซึ่งหลักสูตรนี้ไม่ได้เปิดสอนตามมหาวิทยาลัยนะ อย่าเข้าใจผิด!!!
7. ค่าตอบแทนและเงินเดือนของผู้ช่วยพยาบาล
โรงพยาบาลรัฐบาลเริ่มต้นที่ประมาณ 7,000 – 8,000 บาท
โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดิ ก็จะได้เยอะขึ้นมาหน่อย เริ่มต้นที่ประมาณ 9,000 – 12,000 บาท
โรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ๆ ดังๆ เริ่มต้นที่ประมาณ 10,000 – 12,000 บาท และยังมีค่าอื่นๆให้อีกด้วย เช่น ค่าภาษา ค่าประสบการณ์ ค่า Level ในส่วนนี้ต้องสอบถามกับองค์กรนั้นๆ บางคนที่ทำอาชีพผู้ช่วยพยาบาลได้เงินเดือนเดือนนึงเกือบ 40,000 บาท แต่ก็ต้องแลกมากับการทำงานที่หนัก ไม่ค่อยได้พักผ่อน
นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว ยังไม่รวมค่าอื่นๆอีก หลักๆก็มี ค่าเวร OT ค่าประสบการณ์ ค่าภาษา ซึ่งรวมๆต่อเดือนแล้วอาจจะได้มากกว่าคนที่เค้าเรียนสูงๆกว่าเราเสียอีก
8. หน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาล
หลักๆเลยคือ การวัดสัญญาณชีพ หรือ Vital sign หรือที่เราเข้าใจกันทั่วๆไปก็คือ การวัดความดัน นั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของอาชีพเราเลยก็ว่าได้
นอกจากนี้ก็มี การดูแลผู้ป่วยในระยะที่ไม่รุนแรงมาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การทำแผลที่ไม่หนักมาก ดูแลความสุขสบายของผู้ป่วย สังเกตอาการของผู้ป่วยเพื่อรายงานพยาบาลวิชาชีพและแพทย์ รวมถึงสหวิชาชีพในสายสุขภาพ การให้คำปรึกษาผู้ป่วย รักษาวัสดุอุปกรณ์การแพทย์
ส่วนในเรื่องของการเช็ดอุจจาระ หรือปัสสาวะนั้น ขอบอกไว้ก่อนเลยว่า เรามาทำงานในสายสุขภาพนั้น ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ หรือพยาบาล เราก็ต้องพบเจอกับสิ่งที่ไม่น่าดูอยู่แล้ว ต้องได้ทำความสะอาดแน่นอนจ้า แต่ในส่วนนี้พยาบาลก็ต้องทำเหมือนกัน
9. พยาบาล กับ ผู้ช่วยพยาบาล ต่างกันตรงไหน…?
เอาหลักๆเลยคือ ผู้ช่วยพยาบาลจะทำงาน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของ “ยา” ซึ่งการให้ยากับคนไข้นั้น เป็นหน้าที่ของแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพเท่านั้น!! ผู้ช่วยพยาบาลไม่สามารถทำได้
และต่อมาคือในเรื่องของการสอดใส่ หรือแทงสิ่งต่างๆเข้าร่างกายผู้ป่วยเราก็ไม่สามารถทำได้ เช่น การฉีดยา การให้น้ำเกลือ หรือการเจาะเลือด เราก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน
แต่วัตถุประสงค์ของการทำงานเราเหมือนกันคือ การดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยความปลอดภัยตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้เค้าหายและกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิมได้ตามปกติ
PN ต่างจาก NA อย่างไร
ในปัจจุบันนี้ มีหลายคนที่สนใจเรียนผู้ช่วยพยาบาล ยังสับสนกับคำว่า PN และ NA
PN ย่อมาจากคำว่า Practical Nurse คือผู้ช่วยพยาบาล ส่วน NA ย่อมาจาก Nurse aid หรือ Nursing Assistant คือพนักงานช่วยเหลือคนไข้ หรือพนักงานช่วยการพยาบาล
โดย PN ได้ผ่านการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล โดยมีระยะเวลาการเรียน 1 ปี ซึ่งสถาบันได้การรับรองหลักสูตรจาก ” สภาการพยาบาล “
แต่ NA นั้น เรียนตามโรงเรียน บริบาล บริรักษ ์ทั่วไป ในหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ ระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี โดยหลักสูตรนั้นมาจากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนสอนอาชีพ “ไม่ใช่” โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล ตามที่เข้าใจกัน
โดยการเรียนการเรียนการสอนนั้น แตกต่างกันค่อนข้างมากเลยทีเดียวค่ะ PN จะเรียนยากกว่า NA เยอะเลย
โดย PN จะเปิดสอนในสถาบันอุดมศึกษา “ที่มีคณะพยาบาลศาสตร์เท่านั้น” แต่ NA จะพบโรงเรียนได้ทั่วไปโดยจะได้รับประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ หรือ นวดแผนไทยร่วมด้วย ทั้งนี้ ยังมี วิทยาลัยพยาบาลและโรงพยาบาลบางแห่งเปิดสอน NA ด้วย
โรงพยาบาลรัฐบางแห่ง ตำแหน่ง NA หรือ Nurse Aid ไม่จำเป็นต้องจบบริบาล เว้นแต่โรงพยาบาลหรือ สถานพยาบาลเอกชน
การแต่งกายระหว่าง PN กับ NA
PN ใส่ชุดสีขาว สวมหมวกติดแถบเฉียง หรือไม่สวมหมวก (ตามกฎของสถานพยาบาลนั้นๆ)
NA ใส่ชุดสีเหลือง หรือใส่เครื่องแบบตามสถานพยาบาลนั้นๆ กำหนด
หน้าที่ของการกระทำการช่วยพยาบาล
โดย PN มีข้อบังคับสภาการพยาบาล กำหนดไว้ชัดเจน
แต่ NA เป็นประกาศนียบัตรการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ
ในปัจจุบันนี้ ยังมีโรงเรียนบริบาลหลายแห่งไม่เปิดเผยความจริงว่า หลักสูตรที่ทำการเปิดสอนนั้น ไม่ใช่สอนผู้ช่วยพยาบาลจริงๆ โฆษณาเกินจริง และทำให้มีหลายคน ตกเป็นเหยื่อ เสียทั้งเวลา เสียทั้งเงิน
แต่ถ้าเปรียบเทียบกับผู้ช่วยพยาบาล PN แล้วนั้น PN จะมีโอกาสก้าวหน้าในสายงานมากกว่าการเรียน NA ถ้าผู้ที่สนใจเรียนยังเลือกไม่ได้ แนะนำให้เรียน PN ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัยดีกว่า โดยวุฒิการศึกษาขั้นต่ำคือ มัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 หรือเทียบเท่า
ผู้ช่วยพยาบาลมีสวัสดิการอะไรบ้าง
ผู้ช่วยพยาบาลเป็นข้าราชการไหม มีสวัสดิการอะไรบ้าง คำตอบคือสวัสดิการของผู้ช่วยพยาบาลจะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่สังกัด แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีสวัสดิการพื้นฐานดังนี้ แต่จะไม่ได้เป็นข้าราชการของสังกัดใด แต่จะมีสวัสดิการของแต่ละที่ ยกตัวอย่างเช่น
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ประกันสังคม
- ประกันชีวิต
- ตรวจสุขภาพประจำปี
- ส่วนลดค่ารักษาพยาบาล
- ชุดเครื่องแบบพนักงาน
เรียนจบม.3 เรียนผู้ช่วยพยาบาลได้ไหม และผู้ช่วยพยาบาลเรียนเกี่ยวกับอะไร
อาชีพผู้ช่วยพยาบาล คือ พนักงานที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ โดยจะต้องเรียนจบหลักสูตรการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น โดยการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนจะมีหลักสูตรให้เลือกเรียนตามความสนใจ เช่น เรียนผู้ช่วยพยาบาล1ปี หลักสูตรผู้ช่วยทันตกรรม หลักสูตรผู้ช่วยเภสัช หลักสูตรผู้ช่วยผู้ช่วยศูนย์ความงาม เป็นต้น ซึ่งการเรียนของแต่ละหลักสูตรแล้วนั้นจะต้องเรียนผู้ช่วยพยาบาลที่มีหลักสูตรระยะเวลาเรียน 6 เดือน ถึง 1 ปี ดังนี้
1.เรียนผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล 1 ปี เป็นหลักสูตรที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง ในปีการศึกษา 2563-2567 โดยจะต้องจบการศึกษาหรือกำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า (ปวช. ปวส. กศน. ปริญญาตรี) โดยมีคุณสมบัติของผู้สมัครที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี บริบูรณ์ ซึ่งทางโรงเรียนหรือสถาบันจะจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ได้แก่ หมวดศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 28 หน่วยกิต รายวิชาภาคทฤษฎี 18 หน่วยกิต รายวิชาภาคปฏิบัติ 10 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือก 2 หน่วยกิต โดยจะต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยจะใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมด 1 ปี ถึงจะจบหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล PN
เช็ครายชื่อสถาบัน เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล หลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือรู้จัก เพราะเป็นหลักสูตรที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงและยังไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่นัก แต่ปัจจุบันมีหลายสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนี้มาได้หลายปีแล้ว โดยหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลเป็นการเรียนหลักสูตรเพียง 1 ปี ก็สามารถประกอบอาชีพทำงานได้เลย วันนี้พี่ปลูกพาไปเช็ครายชื่อสถาบัน ที่เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล
– สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข 25 สถาบัน
– สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 25 สถาบัน
– สังกัดกระทรวงกลาโหม 2 สถาบัน
– สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1 สถาบัน
– สังกัดกรุงเทพมหานคร 1 สถาบัน
– สถาบันการศึกษาเอกชน 20 สถาบัน
จบแล้ว ทำงานอะไรได้บ้าง
– สามารถทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลได้ทั้งในโรงพยาบาลรัฐ หรือ เอกชน หรือตามศูนย์ดูแลผู้ป่วยต่าง ๆ
ลักษณะการทำงานผู้ช่วยพยาบาล
– ช่วยเหลือดูแลบุคคลด้านความต้องการขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและอันตรายต่าง ๆ ฟื้นฟูสภาพภายใต้ความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
– ติดตามและบันทึกความเปลี่ยนแปลงอาการ และอาการแสดงของโรคและความต้องการของผู้ป่วย ตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลมอบหมาย
– ช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมในการตรวจรักษาพยาบาลที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
– ช่วยทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล เป็นอีกหนึ่งสายงานสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจงานด้านสุขภาพ การดูแลช่วยเหลือบุคคล โดยหลักสูตรนี้แต่ละสถาบันมีเปิดรับสมัครตามรอบปีการศึกษา น้อง ๆ ที่สนใจสามารถยื่นสมัครได้โดยตรงที่สถาบันที่เปิดรับได้เลย ถือเป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่น่าสนใจ จบแล้วมีงานรองรับแน่นอน
จบผู้ช่วยพยาบาล แผนกไหนดีที่สามารถทำงานได้
จบมาสามารถทำงานได้หลายหน่วยงานตามความสนใจของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยพยาบาลแผนก OPD ผู้ช่วยแพทย์ตามคลินิกเสริมความงาม สถาบันผู้สูงอายุได้ ผู้ช่วยเภสัชกร ผู้ดูแลผู้สูงอายุและเด็ก ผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด ผู้ช่วยทันตแพทย์ เป็นต้น
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อสงสัยเรียนผู้ช่วยพยาบาล ดีไหม หากใครที่มีใจรักในการบริการ อดทนกับความเหนื่อยได้ และการพักผ่อนที่ไม่เป็นเวลา สามารถเลือกเรียนผู้ช่วยพยาบาลได้อย่างสบายใจ และหากใครที่กำลังคิดว่าจะเรียนผู้ช่วยพยาบาลที่ไหนดี ม.เวสเทิร์นเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่มีหลักสูตรและเนื้อหาที่เข้มข้นของหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลโดยเฉพาะ หากเรียนจบแล้วสามารถนำใบประกาศนียบัตรไปสมัครงานได้จริง และไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อนก็สามารถสมัครได้